สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักภาพด้านการท่องเที่ยวไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการที่จังหวัดร้อยเอ็ดไม่ได้เป็นเส้นทางผ่านที่สำคัญในเส้นทางท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับขีดจำกัดของการลงทุกด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอยู่หลายปัจจัย เช่น การไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขาดแหล่งโบราณสถานที่น่าสนใจประกอบกับประเพณีและวัฒนธรรมก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเด่นชัด โดยสามารถจำแนกแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ดออกไปตามอำเภอต่าง ๆ ได้ ดังนี้
บึงพลาญชัย
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไมต่างๆ ร่มรื่นและในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจาก นั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้ง จัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่า สนใจ คือ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาว ร้อยเอ็ด พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออก กำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้าง พลานามัยแก่ชาว ร้อยเอ็ด
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์นาราม (ผาน้ำย้อย)
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา) มูลเหตุในการก่อตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์
มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่า
ผาน้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ ตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปราม
ด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศ
ชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติ
ของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความตรึงเครียด
้ทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น
เสนาสนะและสิ่งสำคัญ
เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
13. สร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา เจดีย์ชัยมงคล
15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก
16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา น้ำย้อย 1 ตำหนัก
17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
วัดบูรพาภิราม
เขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ มาเป็นวัดบูรพาภิรามมีพระพุทธรูปปางประทานพร ที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวน หลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่ ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย ด้านทิศ ตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัย เก่า ซึ่งเป็นที่่ี่สร้างุศาลาศาลเจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ ซึ่งชาวเมืองร้อยเอ็ดเคารพนับถือมาก
วัดกลางมิ่งเมือง
ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐาน ว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำ พิพัฒน์สัตยา ปัจจุบัน เป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรมและ สถานที่สอบธรรมสถานชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาด แสดงถึงพุทธ ประวัติ สวยงาม และมีค่าทางศิลปะ
วัดสระทอง
ตั้งอยู่ในตัวเมือง
เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา(ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด คนแรก ได้พบพระองค์นี้เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยก ใ้ห้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่าจะซื่อสัตย์ต่อบ้าน เมืองเป็นประจำทุกปี
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติร้อยเอ็ด
จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้านทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการ จัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหมได้แก่ ระบบสารสนเทศการทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร